กระชายสมุนไพรมากด้วยสรรพคุณ เนื่องจากว่า สารสกัดกระชายขาว มีสารต่างๆที่มีคุณประโยชน์ที่ดีกับร่างกาย ทั้งภายในและ ภายนอก ในส่วนรากและส่วนต้นของกระชายขาว จะประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, boesenbergin A, pinostrobin, น้ำมันหอมระเหย (essential oil), สาร cardamonin ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็งได้อีกด้วย
กระชาย จึงมีสรรพคุณมากมาย ที่ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของคนไทยมาอย่างช้านาน ตำรายาไทยใช้เหง้ากระชาย ในการแก้อาการของโรคต่างๆ นอกจากนั้น กระชายยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร ส่วนที่ใช้ประโยชน์เพื่อบริโภค คือเหง้า เหง้ากระชายขาวใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงบางอย่าง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ใช้ปลา เช่น น้ำยาปลา แกงส้ม แกงเลียง เนื่องจากกลิ่นรสที่เผ็ดร้อนและรสขมของกระชายขาวจะช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดี
ประโยชน์ของกระชาย
ประโยชน์กระชาย สามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี
น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ช่วยทำให้เหนื่อยลง
ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้
รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น และยังทำให้อาหารมีกลิ่นและรสที่หอมแบบเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน
ผลงานวิจัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับสารสกัดกระชายขาว
สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ได้ ผลจากงานวิจัยอ้างอิงศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สาร Pinostrobin สารสกัดกระชายขาวยังมีฤทธิ์ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกลาก 3 ชนิด และช่วยต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
สารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย รากและใบของกระชายนั้นได้มีงานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สารสกัดกระชายอีก 4 ชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค อย่างแบคทีเรียได้หลายชนิด จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบ สาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียได้
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการผลิตสารออกฤทธิ์จากกระชายเหลืองหรือสารสกัดกระชายขาว ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาว
งานวิจัยของ นายแพทย์นพรัตน์ บุญยเลิศ ในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร ทรงให้มีการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพร อย่างโครงการสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อนที่พบว่า กระชายแดงรักษามะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งกระดูก